เมนู

13. กิโลมกํ (พังผืด)


คำว่า กิโลมกํ คือ พังผืด เป็นเนื้อสำหรับหุ้มมี 2 ชนิด โดย
แยกเป็นพังผืดชนิดปกปิด และพังผืดชนิดที่ไม่ปกปิด พังผืดแม้ทั้งสองนั้น
ว่าโดยสี มีสีขาว ดังสีผ้าทุกูล (ผ้าทำด้วยเปลือกไม้) เก่า. ว่าโดยสัณฐาน
มีสัณฐานตามที่ตั้งอยู่ของตน. ว่าโดยทิศ พังผืดชนิดที่ปกติ เกิดในทิศเบื้องบน
พังพืดนอกนี้เกิดในทิศทั้งสอง. ว่าโดยโอกาส พังผืดชนิดที่ปิด ตั้งหุ้มหัวใจ
และไตอยู่ พังผืดชนิดที่ไม่ปกติ ตั้งยึดเนื้อใต้หนังในสรีระทั้งสิ้น. ว่าโดย
ปริเฉท เบื้องล่างกำหนดด้วยเนื้อ เบื้องบนกำหนดด้วยหนัง และเบื้องขวาง
กำหนดโดยส่วนที่เป็นพังผืด. นี้เป็นสภาคปริจเฉทของพังผืด ส่วนวิสภาค-
ปริเฉท เช่นกับผมนั่นแหละ.

14. ปิหกํ (ม้าม โบราณว่า ไต)


คำว่า ปิหกํ คือ เนื้อเป็นดังลิ้นอยู่ในท้อง ม้ามนั้น ว่าโดยสี มี
สีนิล (คือ สีน้ำเงินแก่) ดุจดอกคนทิสอ. ว่าโดยสัณฐาน มีสัณฐานดังลิ้น
ลูกโคดำ ยื่นออกไปประมาณ 7 นิ้ว. ว่าโดยทิศ เกิดในทิศเบื้องบน. ว่า
โดยโอกาส อาศัยตั้งอยู่ข้างบนพื้นท้องทางซ้ายของหัวใจ เมื่อมันออกมาข้าง
นอกเพราะถูกประหารด้วยเครื่องประหาร สัตว์ทั้งหลายก็จะสิ้นชีวิต. ว่า
โดยปริจเฉท กำหนดโดยส่วนที่เป็นม้าม. นี้เป็นสภาคปริจเฉทของม้าม ส่วน
วิสภาคปริจเฉท เช่นกับผมนั่นแหละ.

15. ปปฺผาสํ (ปอด)


คำว่า ปปฺผาสํ คือ ปอด แยกออกจะเป็นชิ้นเนื้อ 32 ชิ้น ปอด
นั้น ว่าโดยสี มีสีแดงดังผลมะเดื่อไม่สุกจัด. ว่าโดยสัณฐาน มีสัณฐานดัง